ความเป็นมาของสาขาวิชาภาษาไทย

หลักสูตรภาษาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้ดำเนินการจัดทำโดยคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี  พิจารณาและพัฒนาปรับปรุงมาจากหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ของสำนักงานคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ  พ.ศ. 2543  และหลักสูตรของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ได้เปิดทำการสอนอยู่ก่อนแล้ว โดยปรับปรุงปรับเปลี่ยนโครงสร้างหลักสูตรตลอดจนเนื้อหาและรายวิชาให้ทันสมัยและเหมาะสมยิ่งขึ้น

 

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา
             "มีความรู้ทักษะทางภาษา ประกอบอาชีพอิสระ รักษ์วัฒนธรรมไทย"

วิสัยทัศน์
             ผลิตบัณฑิตภาษาไทยให้มีทักษะและความรู้คู่คุณธรรม  เพื่อประกอบอาชีพและสืบสานสมบัติทางภาษาและวรรณกรรมไทยสู่ท้องถิ่น

พันธกิจ
             1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทางภาษาไทย สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             2. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจรรยาบรรณตามสาขาวิชาชีพ
             3. ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยทางด้านภาษาและวรรณกรรมไทย
             4. ให้บริการทางวิชาการ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องแก่บุคคล คณะบุคคล และองค์กรในท้องถิ่น
             5. ส่งเสริม สนับสนุน การทำนุบำรุงศาสนาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย

 

วัตถุประสงค์ และ การดำเนินงาน

วัตถุประสงค์

  หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทางภาษาไทย 

2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะทางภาษาไทยและสามารถนำไปประกอบอาชีพทั้งภาครัฐ เอกชน และอาชีพอิสระที่ต้องอาศัยภาษาเป็นสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความภาคภูมิใจ  และตระหนักถึงความสำคัญของภาษาและวรรณกรรมไทยในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมของชาติ 

 4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีพื้นฐานทางภาษาและวรรณกรรมไทยสำหรับวิชาการขั้นสูงต่อไป 

 5. เพื่อส่งเสริมเจตคติทางภาษาไทย ทำให้บัณฑิตมีโลกทัศน์กว้าง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาตนให้อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี  และเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติ 

แผนดำเนินงาน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา
          ผู้ที่สมัครเข้าศึกษา จะต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า จากสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง  หรือให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีกำหนด

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
          ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

ระยะเวลาการศึกษา 
          ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติและไม่เกิน 15 ภาคการศึกษาปกติ

การลงทะเบียนเรียน
          ในภาคการศึกษาปกติให้ลงทะเบียนไม่เกิน 22 หน่วยกิต  และในภาคฤดูร้อนให้ลงทะเบียนไม่เกิน 9 หน่วยกิต  หรือให้เป็นไปตามระเบียบหรือประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 

การวัดผลการศึกษา
          การวัดผลการศึกษาในการสอบรายวิชาแบ่งเป็น 8 ระดับ   มีชื่อและค่าระดับต่อหนึ่ง  หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

การสำเร็จการศึกษา
          สอบผ่านรายวิชาต่างๆ ครบตามหลักสูตรโดยต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00   และเงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

 

สภาพทางกายภาพ

สถานที่และอุปกรณ์การสอน
           

1. สถานที่เรียนใช้อาคารเรียนภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีและแหล่งความรู้อื่น

2. อุปกรณ์การเรียนการสอนใช้ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

3. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการศึกษาหาความรู้และสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเรียน การวิจัย

4. ห้องโสตทัศนูปกรณ์และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี  ในการศึกษาหาความรู้ข้อมูลต่าง ๆ ประกอบการเรียนการสอน

5. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับการใช้สืบค้นข้อมูลผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ

 

จำนวนหนังสือและตำราเรียน
          

     นักศึกษาหลักสูตรภาษาไทยสามารถค้นคว้าหาความรู้และข้อมูลต่าง ๆ จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และห้องค้นคว้าของหลักสูตรภาษาไทย   ซึ่งประกอบด้วยหนังสือและสำเนางานวิจัยด้านภาษาและวรรณคดีไทยของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ  ดังนี้ 


            1.  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
                      - หนังสือภาษาไทย                                               2,875    เล่ม
                      - หนังสือภาษาต่างประเทศ                                    1,004    เล่ม
                      - วารสารภาษาไทย                                               2,100    เล่ม
                      - วารสารภาษาต่างประเทศ                                       507    เล่ม

           2.  ห้องค้นคว้าของหลักสูตรภาษาไทย
                      -  หนังสือภาษาและวรรณคดีไทย                              678    เล่ม
                      -  สำเนางานวิจัยด้านภาษาและวรรณคดีไทย            404    เล่ม

           3 การสืบค้นจากสื่ออื่น ๆ 
                      -  สื่อซีดีรอม
                      - ข้อมูลจากวีดิทัศน์
                      -  ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
                      -  การสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต

 

เส้นทางอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

           1.  เป็นผู้ประกาศข่าว
           2.  เป็นนักจัดรายการ
           3.  เป็นผู้สื่อข่าว
           4.  เป็นมัคคุเทศก์
           5.  เป็นเลขานุการ
           6.  เป็นนักประชาสัมพันธ์
           7.  เป็นนักเขียน
           8.  เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการและงานสารบรรณ
           9.  เป็นพนักงานพิสูจน์อักษร
           10.  เป็นบรรณาธิการ
           11.  เป็นครูภาษาไทย  (ศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตอีก  1  ปี)